วันอังคารที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2560

การจัดการงานอาชีพ

การจัดการงานอาชีพ

ความหมายของอาชีพ
        อาชีพ  คือการทำมาหากินของมนุษย์  เป็นการแบ่งหน้าที่การทำงานของคนในสังคม  และทำให้ดำรงอาชีพในสังคมได้  บุคคลที่ประกอบอาชีพจะได้ค่าตอบแทน หรือรายได้ที่จะนำไปใช้จ่ายในการดำรงชีวิต  และสร้างมาตรฐานที่ดีให้แก่ครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติ

ความจำเป็นของการประกอบอาชีพมีดังนี้
              1.  เพื่อตนเอง การประกอบอาชีพทำให้มีรายได้มาจับจ่ายใช้สอยในชีวิต
             2.  เพื่อครอบครัว ทำให้สมาชิกของครอบครัวได้รับการเลี้ยงดูทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
3.  เพื่อชุมชน ถ้าสมาชิกในชุมชนมีอาชีพและมีรายได้ดีจะส่งผลให้สมาชิกมีความเป็นอยู่ดีขึ้น อยู่ดี      กินดี ส่งผลให้ชุมชนเข้มแข็งและพัฒนาตนเองได้
4.  เพื่อประเทศชาติ  เพื่อประชากรของประเทศมีการประกอบอาชีพที่ดี  มีรายได้ดี  ทำให้มีรายได้ที่เฉสี่ยภาษีให้กับรัฐบาลมีรายได้ไปใช้บริหารประเทศต่อไป
        มนุษย์ไม่สามารถผลิตสิ่งต่างๆมาสนองความต้องการของตนเองได้ทุกอย่างจำต้องมีการแบ่งกันทำและเกิดความชำนาญ จึงทำให้เกิดการแบ่งงานและแบ่งอาชีพต่างๆขึ้น สาเหตุที่ต้องมีการแบ่งอาชีพมีดังนี้
              1.  ความรู้ความสามารถของแต่ละคนแตกต่างกัน
              2.  ตำแหน่งทางภูมิศาสตร์และภูมิประเทศที่แตกต่างกัน
              3.  ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ที่แตกต่างกัน
การแบ่งงานและอาชีพให้เกิดประโยชน์ ดังนี้
              1.  สามารถตอบสนองความต้องการซึ่งกันและกันได้
              2.  ได้ทำงานที่ตนเองถนัด
             3.  ทำให้กิดการขยายตัวของธุรกิจในด้านต่างๆ
การประกอบอาชีพของคนไทย
        การทำมาหากินของคนไทยสมัยก่อน คือการทำไร่  ทำนา  ทอผ้า  ทำเครื่องจักสานไว้ใช้ที่เหลือก็จะจำหน่ายในชุมชน  คนไทยบางกลุ่มจะเป็นข้าราชการเมื่อบริษัทต่างชาติมาลงทุนในประเทศไทย ทำให้มีการจ้างงาน และมีอาชีพให้คนไทยเลือกทำมากขึ้น
ลักษณะอาชีพของคนไทย
             1.  งานเกษตรกรรม เช่น  ปลูกพืช  เลี้ยงสัตว์  การประมง
2.  งานอุตสาหกรรม เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับความถนัดด้านช่างสาขาต่างๆ และเครื่องจักรเพื่อผลิตสินค้าและบริการต่างๆ
3.  งานธุรกิจ เป็นงานด้านการค้าขาย  การทำบัญชี การจัดการธุรกิจ  การติดต่อสื่อสารเทคโนโลยีสารสนเทศ4.  งานคหกรรม  เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาหาร เย็บปักถักร้อย  ตกแต่งบ้าน
5.  งานศิลปกรรม  เป็นงานที่มีความละเอียดอ่อน ความคิดสร้างสรรค์ด้านศิลปกรรมของไทย เช่น งานหัตถกรรม  ประติมากรรม  จิตรกรรม

ปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดความสำเร็จในงานอาชีพ
              1.ความต้องการมุ่งความสำเร็จ (Need for Achivement)  ในการทำงานเมื่อพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้วและมองเห็นโอกาสแห่งความเป็นไปได้  ผู้ประกอบการจะต้องมุ่งมั่นใช้กำลังกาย กำลังความคิด สติปัญญาและความสามารถทั้งหมด  พร้อมทั้งทุ่มเทเวลาให้กับงาน  โดยไม่คำนึงถึงความยากลำบาก  เพื่อให้งานบรรลุความสำเร็จที่มุ่งหวังไว้  ผู้ประกอบการจะต้องเรียนรู้ถึงความผิดพลาดที่ผ่านมาเพื่อแก้ไขให้เกิดความสำเร็จ  พอใจ  ภูมิใจที่งานออกมาดี  แต่สิ่งที่สำคัญคือ  จุดมุ่งหมายทางธุรกิจ  มิได้อยู่ที่กำไร  แต่จะต้องทำเพื่อขยายความเจริญเติบโตของกิจการ  กำไรเป็นเครื่องสะท้อนว่าทำได้  และไม่เพียงสนใจต่อการบรรลุเป้าหมายเท่านั้น  แต่จะต้องให้ความสำคัญต่อวิธีการหรือกระบวนที่ทำให้บรรลุเป้าหมายด้วย
              2.  มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Creativity  Thinking) การจะเป็นผู้สำเร็จในงานอาชีพได้นั้น  จะต้องเป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ไม้พอใจในการทำสิ่งซ้ำๆเหมือนเดิมตลอดเวลา  แต่เป็นผู้ที่ชอบนำประสบการณ์ที่ผ่านมาประยุกต์  สร้างสรรค์  หาวิธีใหม่ที่ดีกว่าเดิม  สามารถหาแนวทางพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการ  ปรับปรุงกระบวนการดำเนินการอยู่ตลอดเวลา กล้าที่จะผลิตสินค้าที่แตกต่างจากเดิม กล้าใช้วิธีขายที่ไม่เหมือนใคร  กล้าประดิษฐ์  กล้าคิดค้นสิ่งที่แปลกใหม่เข้าสู่ตลาด  สามารถคิดค้นประดิษฐ์เครื่องจักรเครื่องมืออุปกรณ์ใหม่ๆ มาใช้ในการผลิต  สามารถนำเทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้  รวมทั้งแสวงหาวัตถุดิบใหม่ๆมาทดแทนของเดิม  รู้จักปรับปรุงกระบวนการดำเนินงาน  นำระบบการจัดการสมัยใหม่ที่มีประสิทธิภาพมาใช้เพื่อลดต้นทุน  ความคิดสร้างสรรค์เหล่านี้  อาจเกิดขึ้นด้วยตัวเอง หรือเอาแนวคิดมาจากนักประดิษฐ์ นักวิจัยหรือผู้เชี่ยวชาญก็ได้
              3.  รู้จักผูกพันต่อเป้าหมาย (Addicted to Goals) เมื่อตั้งเป้าหมาย  ผู้ประกอบการจะต้องทุ่มเททุกอย่างเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย  เป้าหมายทุกเป้าหมายล้วนจะต้องเอาชนะทั้งสิ้น  มีความคิดผูกพันที่จะเอาชนะ  จนสามารถวางแผนกลยุทธ์ไว้ล่วงหน้า  มีการวิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค ขัดขวางในการไปสู่เป้าหมาย  เตรียมป้องกันที่จะเอาชนะอุปสรรค  ที่คาดว่าจะทำให้เกิดความล้มเหลว  และหาหนทางแก้ไขเมื่อประสบความเหลว  และในขณะเดียวกันการมองโลกในแง่ดีมีความหวัง  มุ่งมั่นต่อไปเป้าหมายของความสำเร็จจะมองเห็นในอนาคต
              4.  มีความสามารถในการบริหารงานและมีความเป็นผู้นำที่ดี (Management and Leadership Capability)  มีลักษณะการเป็นผู้นำ  รู้จักหลักการบริหารจัดการที่ดี ภาวะการเป็นผู้นำจะแตกต่างไปตามระยะการเจริญเติบโตของธุรกิจ  ในระยะเริ่มทำธุรกิจ จะต้องรับบทบาทการเป็นผู้นำจะแตกต่างไปตามระยะการเติบโตของธุรกิจ  ในระยะเริ่มทำธุรกิจ  จะต้องรับบทบาทเป็นผู้นำที่ลงมือทำทุกอย่างด้วยตนเอง  ต้องทำงานหนักเพื่อบรรลุความสำเร็จ  เอาใจใส่ผู้ร่วมงาน  วางแผนทางการทำงาน  ให้คำแนะนำและให้ผู้ร่วมงานรับค่าสิ่งด้วยความเต็มใจในการปฏิบัติงาน  เป็นผู้กำกับดูแลอย่างใกล้ชิดและเป็นกันเองจะทำให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยดี  ต่อมาเมื่อกิจการเติบโตขึ้น  การบริหารงานก็จะเปลี่ยนแปลงไป  ลูกน้องก็จะมีลักษณะเปลี่ยนแปลงและเชื่อมั่นได้มากขึ้น  ไว้ใจได้  สามารถที่จะแบ่งความรับผิดชอบให้ลูกน้องได้มากขึ้น  จนสามารถปล่อยให้ดำเนินการเองได้  ส่วนตนจะได้มีเวลาใช้ความคิดพัฒนาผลิตภัณฑ์    ขยายกิจการหรือลงทุนใหม่  ดำเนินกิจการให้ลักษณะมืออาชีพมากกว่าเป็นธุรกิจเครือญาติ  กล้าลงทุนจ้างผู้บริหารมืออาชีพ  รู้จักปรับเปลี่ยนการบริหาร  เพื่อทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ
              5.  มีความเชื่อมั่นในตนเอง (Be Self Confident)  ผู้ประกอบการที่จะประสบความสำเร็จมักจะเป็นผู้ที่มีความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง  มีความเป็นอิสระและรู้จักพึ่งตนเอง  มีความมั่นใจ  มีความเข้มแข็ง เด็ดเดี่ยว  มีลักษณะเป็นผู้นำ  มีความเชื่อมั่นที่จะเอาชนะสิ่งแวดล้อมที่น่ากลัว  มีความทะเยอทะยาน  และไม่ประเมินความสามารถของตนเองสูงเกินไปหรือเชื่อมั่นตนเองมากเกินไป
              6.  มีวิสัยทัศน์กว้างไกล (Visionary)  เป็นผู้ที่สามารถวิเคราะห์เหตุการณ์ในอนาคตได้อย่างแม่นยำ และรู้จักเตรียมพร้อมรับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น
              7.  มีความรับผิดชอบ (Responsibility)  มีความรับผิดชอบต่องานที่ทำเป็นอย่างดี เป็นผู้นำในการทำสิ่งต่างๆ มักจะมีความริเริ่มแล้วลงมือทำด้วยตนเอง หรือมอบหมายให้ผู้อื่นทำและจะดูแลจนงานสำเร็จตามเป้าหมาย โดยจะรับผิดชอบผลการตัดสินใจ ไม่ว่าผลจะออกมาดีหรือไม่ มีความเชื่อว่าความสำเร็จเกิดจากความเอาใจใส่  ความพยายาม  ความรับผิดชอบ  มิใช่เกิดจากโชคช่วย
              8.  มีความกระตือรือร้นและไม่หยุดนิ่ง (Enthusiastic)  มีการทำงานที่เต็มไปด้วยพลัง  มีชีวิตชีวา  มีความกระตือรือร้น  ทำงานทุกอย่างโดยไม่หลีกเลี่ยง  ทำงานหนักมากกว่าคนทั่วไป
              9.  ใฝ่หาความรู้เพิ่มเติม (Take New Knowledge)  ถึงแม้ว่าจะมีความเชี่ยวชาญในการทำงาน แต่ความรู้และประสบการณ์ที่มีอยู่ยังไม่เพียงพอ  ควรที่จะหาความรู้เพิ่มเติม โดยเฉพาะความรู้เกี่ยวกับข้อมูลทางการตลาด  เศรษฐศาสตร์  การเมือง  กฏหมายทั้งในและต่างประเทศ  ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้สามารถวิเคราะห์สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้  การหาความรู้เพิ่มเติมสามารถหาได้จากการสัมนา  ฝึกอบรม  อ่านหนังสือ  หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
              10.  กล้าตัดสินใจและมีความมานะพยายาม (Can Make Decision And Be Attempt)  มีความกล้าตัดสินใจมีความหนักแน่นไม่หวั่นไหว  เชื่อมั่นในตนเองกับงานที่ทำ  มีจิตใจของนักสู้  ถึงแม้งานจะหนักก็ทุ่มเทสุดความสามารถ  ไม่กลัวงานหนัก เห็นงานหนักเป็นงานท้าทายในการใช้ความรู้  สติปัญญา และความสามรถในการทำงาน   ความมานะและความพยายามเป้นการทุ่มเทชีวิตจิตใจในการทำงาน แข่งขันกับตนเองและแข่งขันกับเวลา  ขวนขวายหาหนทางแก้ปัญหาและอุปสรรคจนประสบความสำเร็จ
             11.  สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม (Adaptable)  ต้องรู้จักการปรับตัวตามสภาพแวดล้อม  มากกว่าปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปตามยถากรรม หรือขึ้นอยู่กับโชคหรือดวง
              12.  รู้จักประมาณตนเอง (Self Assessment) การรู้จักประมาณตนเองไม่ทำสิ่งเกินตัว ในการทำธุรกิจควรจะเริ่มจากธุรกิจเล็กๆก่อน  และเมื่อกิจการเจริญค่อยเพิ่มทุนและขยายธุรกิจออกไป  จึงจะประสบความสำเร็จ
              13.  ประหยัด (Safe For Future)  การดำเนินงานในระยะสั้นจะยังไม่ทันเห็นผล ผู้ประกอบการจะต้องรู้จักประหยัดและอดออม  ต้องรู้จักห้ามใจที่จะหาความสุข  ความสบายในช่วงที่ธุรกิจอยู่ในช่วงตั้งตัว  และต้องดำเนินธุรกิจต่อไปในระยะเวลายาวนานจนกว่าจะบรรลุเป้าหมาย
              14.  มีความซื่อสัตย์ (Loyalty)  ต้องมีความซื่อสัตย์ต่อลูกค้าและหุ้นส่วน  ต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับธนาคารด้วยการเป็นลูกหนี้ที่ดี เป็นนายที่ดีของลูกน้อง และต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและครอบครัว

อาชีพที่มีความมั่นคงในชีวิต
        หากเปรียบเสาเข็มเป็นรากฐานของตึกสูง ความรู้ที่ได้รับจากการศึกษา ก็คือ พื้นฐานที่จะนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ สร้างรายได้และจัดหาปัจจัย 4 อันเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตอยู่อย่างมั่นคง ในการเลือกประกอบอาชีพนั้น ควรพิจารณาจากความถนัด ความสนใจ ความก้าวหน้าในอาชีพ เป็นอาชีพที่สุจริตถูกต้องตามกฎหมาย และควรเป็นงานที่ทำแล้วมีความสุข ได้รับค่าตอบแทนที่เพียงพอกับการดำเนินชีวิต และเลี้ยงครอบครัวได้อย่างเพียงพอ หากทุกคนเลือกอาชีพที่มความมั่นคงต่อชีวิต สังคมก็จะมีความเป็นอยู่ที่ดี เศรษฐกิจก็จะเจริญก้าวหน้าตามไปด้วย

อาชีพที่มีส่วนร่วม และพัฒนาประเทศ

        อาชีพ หมายถึง การทำมาหากิน ทำธุรกิจ  ตามความชอบหรือความถนัด  ได้ค่าตอบแทนเป็นค่าจ้าง หรือ เงินเดือน ประชาชนในประเทศที่สามารถมีอาชีพเป็นหลักถือได้ว่าเป็นตัวบ่งชี้ให้เห็นถึงความเจริญก้าวหน้าและพัฒนาประเทศได้
        อาชีพที่มีส่วนร่วมพัฒนาประเทศ สามารถแบ่งออกเป็น 8 ประเภท  คือ
              1.  อาชีพเกษตรกรรม (Agriculture) เป็นอาชีพหลักของคนไทยมาเป็นเวลาช้านาน ได้แก่ การทำ สวน การทำนา ทำไร่ การประมง การเลี้ยงสัตว์ และการป่าไม้
               2.  อาชีพเหมืองแร่ (Mineral) เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจกรรม การขุดเจาะนำเอาทรัพยากรธรรมชาติต่างๆมาใช้ เช่น ถ่านหิน  ดีบุก  น้ำมัน และปูนซีเมนต์ ฯลฯ
              3.  อาชีพอุตสาหกรรม (Manufacturing) เป็นการดำเนินกิจกรรมทางด้านการผลิตและบริการทั่วๆไปทั้งอุตสาหกรรมขนาดย่อมและขนาดใหญ่ แบ่งได้ดังนี้
                   3.1  อุตสาหกรรมในครัวเรือน หรือ อุตสาหกรรมขนาดย่อม  เป็นการดำเนินกิจกรรมที่ใช้แรงงานสมาชิกในครอบครัว วัสดุที่ใช้ผลิตหาได้ในท้องถิ่น ผลิตัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น
                4.  อาชีพก่อสร้าง (Construction) เป็นการดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการสร้างอาคาร ที่อยู่อาศัย ถนน สะพาน เขื่อน ฯลฯ
                 5.  อาชีพการพาณิชย์ (Commercial) เป็นการดำเนินกิจกรรมเกี่ยวช้องกับการตลาด การจำหน่ายสินค้าปลีก และสินค้าส่ง
                 6.  อาชีพการเงิน (Financial) การดำเนินกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ธุรกิจต่างๆคล่องตัวมากยิ่งขึ้น ให้ความช่วยเหลือและการลงทุน  ได้แก่ ธนาคารต่างๆ
                 7.  อาชีพบริการ (Services) เป็นการดำเนินกิจกรรมที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ในการอำนวยความสะดวกสบาย เป็นการขนส่ง  การสื่อสาร  การโรงแรม  การท่องเที่ยว  โรงพยาบาล  โรงภาพยนต์  ภัตตาคาร  ร้านอาหาร  สถานบันเทิงต่างๆ ฯลฯ
                  8.  อาชีพอื่นๆ เป็นอาชีพที่นอกเหนือจากอาชีพดังกล่าวข้างต้น  ได้แก่ อาชีพอิสระต่างๆ เช่น แพทย์ ครู  เภสัช  วิศวกร  สถาปนิก  จิตรกร  ประติมากร  เป็นต้น

อาชีพธุรกิจที่มีประโยชน์ต่อประชาชน  สังคม และประเทศชาติ
        อาชีพธุรกิจที่เกิดประโยชน์ต่อประชาชน  สังคม  และประเทศชาติ  ทำให้เกิดกระบวนการผลิตสินค้าการบริการเพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ความต้องการเกิดขึ้นต่อๆไป  โดยไม่สิ้นสุดทำให้เกิดการผลิตสินค้าเพื่อสนองความต้องการจึงเกิดการกระจายสินค้าไปสู่ผู้บริโภค เรียกว่าระบบคนกลาง  ระบบคนกลางได้แก่  พ่อค้าส่ง  พ่อค้าปลีก  ตัวแทนจำหน่าย  นายหน้า  เมื่อมีสินค้าเกี่ยวข้องจึงต้องมีระบบขนส่งและเกิดการจ้างงาน  ช่วยให้ประชาชนมีงานทำ  มีมาตรฐานการครองชีพที่ดีขึ้น  สร้างรายได้ให้กับรัฐ  โดยประชาชนช่วยกันเสียภาษีเพื่อพัฒนาประเทศ
        การที่ประชาชนมีอาชีพ และผลิตสินค้าที่มีคุณภาพจำนวนมากจึงต้องมีเครื่องมือที่ทันสมัยสามารถส่งไปจำหน่ายต่างประเทศได้ ช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศดีขึ้น

สามารถรู้เกี่ยวกับผลอุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์
        เทคโนโลยีการผลิตและการพัฒนาด้านบุคลากรของอุตสาหกรรมการผลิตต่างๆของประเทศไทย นับว่าอุตสาหกรรมแม่พิมพ์เป็นอุตสาหกรรมแม่พิมพ์เป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ทั้งการผลิต ผลิตภัณฑ์โลหะ ผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์ยางและอื่นๆ ซึ่งแม่พิมพ์ที่นำมาใช้ในการจึงมีหลายประเภท เช่น แม่พิมพ์โลหะ แม่พิมพ์พลาสติก แม่พิมพ์ยาง แม่พิมพ์แก้ว และอื่นๆ แต่ที่นิยมใช้กันมาก คือ แม่พิมพ์โลหะ และแม่พิมพ์พลาสติก โดยนำไปใช้เกือบทุกอุตสาหกรรม เพราะแม่พิมพ์เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการผลิตที่มีรูปร่างเหมือนๆกัน ครั้งละจำนวนมากๆ ส่งผลให้สินค้ามีคุณภาพและมาตรฐานเดียวกัน ทำให้ไทยมีโรงงานที่ทำแม่พิมพ์ทั้งหมด 2,000 โรงงาน โดยผลิตแม่พิมพ์โลหะและพลาสติก ถึงร้อยละ 90 และอีก้อยละ 10 ผลิตแม่พิมพ์แก้ว ยาง และเซรามิก โดย 1,500 โรงงาน เป็นโรงงานที่ผลิตแม่พิมพ์ใช้เอง และอีก 500 โรงงาน รับจ้างผลิตแม่พิมพ์ แต่มีโรงงานเพียง 3 % ที่สามารถผลิตแม่พิมพ์ที่ได้คุณภาพ และมีประสิทธิภาพ ความเที่ยงตรงสูง แสดงให้เห็นว่า อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ในประเทศไทย ยังไม่สามารถผลิตงานที่มีคุณภาพ และความถูกต้องแม่นยำสูงได้
        จากสถิติมูลค่าการนำเข้าและส่งออกแม่พิมพ์ (ระหว่างปี พ.ศ. 2542 - 2547) พบว่าประเทศไทยขาดดุลการค้าในอุตสาหกรรมแม่พิมพ์มาโดยตลอด โดยในปี ปี 2544 มีการขาดดุลการค้ามากกว่า 20,000 ล้านบาท และมูลค่าการนำเข้าแม่พิมพ์ของไทยมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นมาโดยตลอด ยกเว้น ปี 2545 ซึ่งมีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 7.69 เมื่อเทียบกับปี 2544 ส่วนมูลค่าการนำเข้าในปี 2547 คาดว่ามีแนวโน้มการนำเข้าเพิ่มขึ้น โดยในช่วงเดือนมกราคม – มิถุนายน มีอัตราการขยายตัวของการนำเข้าเพิ่มขึ้น จากช่วงเดียวกันในปี 2546 ถึงร้อยละ 33.57 เหตุที่ประเทศไทยมีมูลค่าการนำเข้าแม่พิมพ์มาก เนื่องจากโรงงานที่เป็นกิจการร่วมทุนกับต่างประเทศ และกลุ่มตลาดส่วนใหญ่เป็นต่างประเทศ ให้มีการนำเข้าแม่พิมพ์ที่มีคุณภาพและความเที่ยงตรงสูง จากต่างประเทศเข้ามาใช้ในการผลิตสินค้าเป็นจำนวนมาก โดยนำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน และเกาหลีใต้


        ส่วนการส่งออกแม่พิมพ์ของไทยนั้น เป็นกลุ่มผู้ผลิตที่มีกิจการร่วมลงทุนกับต่างประเทศ และได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนจาก BOI (สำนักคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน) โดยผลิตแม่พิมพ์ที่มีความเที่ยงตรงสูง และส่งออกไปบริษัทแม่ ส่วนโรงงานขนาดกลางที่ผลิตแม่พิมพ์ที่มีคุณภาพก็ส่งออกโดยผ่านตัวแทนจำหน่าย มูลค่าการส่งออกตั้งแต่ปี 2542 – 2547 มีมูลค่าการส่งออกไม่เกิน 3,000 ล้านบาท ยกเว้นปี 2546 ส่วนในปี 2547 คาดว่าแนวโน้มการส่งออกแม่พิมพ์ของไทยจะมีมูลค่าสูงขึ้น โดยส่วนใหญ่ส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น มาเลเซียและฮ่องกง





ขอขอบคุณ : https://sueheera.weebly.com
                     https://www.youtube.com/watch?v=A_Ub_DpbmYY
การวางแผนงาน

ความหมายของการวางแผน
    หน่วยงานทุกระดับทั้งภาครัฐและเอกชนจำเป็นต้องมีปัจจัยที่มีความสำคัญที่จะทำให้การดำเนินงานของหน่วยงานประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย สามารถดำเนินงานได้สอดคล้องกับกระบวนการทำงาน รวมทั้งทราบรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับกระบวนการ ระยะเวลาของการทำงานนั้นๆ หากเกิดข้อผิดพลาดจะสามารถทราบได้ทันทีว่าเกิดจากสาเหตุอะไรและสามารถทำการแก้ไขได้ทันท่วงทีที่เกิดการผิดพลาดในกระบวนการทำงาน ไม่ก่อให้เกิดการเสียเวลา รวมทั้งสามารถตรวจสอบการทำงาน และกำหนดแนวทางการทำงานในอนาคตได้เพื่อความสำเร็จของหน่วยงาน ปัจจัยดังกล่าว เรียกว่า “การวางแผน (Planning)” มาจากคำในภาษาละตินว่า “Planum”
    จากความหมายของการวางแผน สรุปได้ว่า การวางแผน (Planning) หมายถึง กระบวนการในการกำหนดทิศทาง เป้าหมาย วัตถุประสงค์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นในอนาคตขององค์การหรือหน่วยงานโดยเลือกวิธีทำงานที่ดีที่สุด มีประสิทธิภาพมากที่สุด ให้บรรลุผลตามที่ต้องการภายในเวลาที่กำหนด และการวางแผนนั้นจะพิจารณาในประเด็นที่สำคัญ 3 ประการ คือ 1) จุดหมายปลายทาง (คืออะไร) 2) วิธีการดำเนินงาน (ทำอย่างไร) และ 3) ระยะเวลา (เสร็จสิ้นเมื่อไร)

ความสำคัญของการวางแผน
    การวางแผนเป็นงานหลักและสำคัญในการบริหารของหน่วยงานในทุกระดับ เนื่องจากเป็นตัวกำหนดทิศทาง เป้าหมาย วิธีดำเนินการ ที่จะทำให้หน่วยงานดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการภายในเวลาที่กำหนด การดำเนินงานจะประสบผลสำเร็จมากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับการวางแผน หากวางแผนดีก็เท่ากับดำเนินงานสำเร็จไปแล้วกว่าครึ่ง ดังนั้น การวางแผนจึงมีความสำคัญต่อการดำเนินงาน ดังนี้
            2.1 การวางแผนเป็นหน้าที่อันดับแรกของผู้บริหาร
2.2 การวางแผนเป็นแนวทางปฏิบัติที่สำคัญ ผู้ปฏิบัติตามแผนสามารถศึกษาเรียนรู้วิธีการ ขั้นตอน และกระบวนการทำงานได้จากแผนก่อนที่จะลงมือปฏิบัติ
2.3 แผนและการวางแผนเป็นตัวกำหนดทิศทางและความรู้สึกในเรื่องของความมุ่งหมายสำหรับองค์การให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนได้รู้ แผนเป็นกรอบสำหรับการตัดสินใจให้ผู้ปฏิบัติได้ อย่างดี จึงสามารถป้องกันมิให้มีการตัดสินใจเพื่อแก้ปัญหาแต่ละครั้งไปเท่านั้นด้วย
2.4 แผนและการวางแผนจะช่วยให้ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน มองไปในอนาคต และเห็นโอกาสที่จะ   แสวงหาประโยชน์หรือกระทำการต่างๆ ให้สำเร็จตามความมุ่งหมายได้ ทั้งยังมองเห็นปัญหาอุปสรรคและภัยคุกคามต่างๆ เพื่อจะหาทางป้องกัน ตลอดจนลดภาวะความเสี่ยงต่างๆ ได้ด้วย
 2.5 การตัดสินใจที่มีเหตุผลในการวางแผนนั้น จะมีการตัดสินใจเรื่องต่างๆ ไว้ล่วงหน้า ซึ่งมีเวลา         พอที่จะใช้ทั้งหลักทฤษฎี แนวความคิด และหลักการ ประกอบกับตัวเลขสถิติและข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมาพิจารณาตัดสินใจ จึงทำให้การตัดสินใจเป็นไปอย่างถูกต้องเหมาะสม             มีเหตุผลและเป็นประโยชน์ตามต้องการ
 2.6 การวางแผนในเรื่องของการเตรียมการไว้ล่วงหน้า เมื่อมีการกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายตามความต้องการ กิจกรรมต่างๆ ที่จะต้องกระทำให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และ บังเกิดผลตามเป้าหมายนั้นๆ จะต้องได้รับการพิจารณา การตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ทั้งวิธีการกระบวนการ ขั้นตอนของการกระทำ ทรัพยากรที่ต้องใช้ เวลา สถานที่และการควบคุมดูแลการทำงาน
           2.7 การวางแผนมีส่วนช่วยให้มนุษย์เปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆได้มาก
           2.8 การวางแผนเป็นตัวนำในการพัฒนา



ประโยชน์ของการวางแผน
    การวางแผนมีประโยชน์สำคัญหลายประการทั้งต่อผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติ รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
3.1 ป้องกันมิให้เกิดปัญหาและความผิดพลาด หรือลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในการปฏิบัติงานใน    อนาคต
3.2 ทำให้หน่วยงานมีกรอบหรือทิศทางในการปฏิบัติงานที่ชัดเจนว่าจะทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร    และใครทำ ทำให้นักบริหารมีความมั่นใจในการปฏิบัติงานให้บรรลุผลสำเร็จได้ง่าย
           3.3 ช่วยให้เกิดการประหยัดทรัพยากรทางการบริหาร เช่น คน เงิน วัสดุอุปกรณ์ เวลา ฯลฯ
3.4 ช่วยให้การปฏิบัติงานรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ เพราะมีแผนเป็นแนวทาง “เปรียบเสมือนเรือที่มีหาง  เสือ”
            3.5 ช่วยให้การปฏิบัติงานเป็นระบบ นักบริหารสามารถควบคุม ติดตามการปฏิบัติงานได้ง่าย

ประเภทของแผน
    การจำแนกประเภทของแผน ขึ้นอยู่กับบรรทัดฐานที่นำมาใช้ในการจำแนกและจัดแบ่งประเภท เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการใช้งานและง่ายต่อการทำความเข้าใจ การวางแผนอาจจำแนกเป็นประเภทต่างๆ โดยอาศัยหลักเกณฑ์ที่แตกต่างกันไป การจำแนกประเภทของแผนที่สำคัญๆ ดังนี้

            1.จำแนกตามระดับหน่วยงาน
            2.จำแนกตามวัตถุประสงค์ หรือ เป้าหมาย
            3.จำแนกตามระยะเวลา
            4.จำแนกตามลักษณะการใช้
            5.จำแนกตามระดับการบริหารงานหน่วยงาน
            6.การจำแนกแผนตามหน้าที่ดำเนินงาน
            7.จำแนกตามความถี่ของการนำแผนไปใช้



ความเชื่โยงของแผนสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานอม
    การวางแผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานใช้แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี ซึ่งมีนโยบายและระยะเวลาสอดคล้องกับแผนบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษาธิการ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนการศึกษาแห่งชาติ  เป็นกรอบทิศทางในการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี  โดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โรงเรียนใช้เป็นแนวทางในการจัดทำแผนของหน่วยงานเช่นเดียวกัน จากนั้นก็จะก้าวไปสู่กระบวนการบริหาร ในส่วนที่เป็นการบริหารแผนและโครงการ โดยหน่วยงานที่เป็นผู้รับผิดชอบแผนงานและโครงการที่เกี่ยวข้องต้องรับผิดชอบนำไปดำเนินการให้บรรลุตามที่ได้กำหนดไว้ หน่วยงานจัดให้มีระบบการติดตาม  รายงานการปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติการและความก้าวหน้าในการปฏิบัติตามแผนพัฒนาในแต่ละรอบปีกับการประเมินผลการดำเนินงานควบคู่กันไป และรายงานผลการปฏิบัติงานในแต่ละรอบปีเมื่อดำเนินงานไปได้ระยะครึ่งแผนก็จะมีการประเมินผลระยะครึ่งแผนพัฒนาและรายงานการประเมินเมื่อเสร็จสิ้นแผนพัฒนาที่เป็นระบบครบวงจร

ความเชื่อมโยงนโยบายและยุทธศาสตร์ชาติที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
    การจัดทำแผนกลยุทธ์ของหน่วยงาน มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษานโยบายและยุทธศาสตร์ หรือจุดเน้นต่างๆจากผู้ที่เกี่ยวข้องหรือหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อเป็นกรอบกำหนดทิศทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และหากได้มีการศึกษานโยบาย ที่เกี่ยวข้องในหลายระดับและกว้างขวางจะทำให้เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของนโยบายได้ชัดเจนขึ้น นโยบายและยุทธศาสตร์ที่ควรศึกษาวิเคราะห์ประกอบการจัดทำแผน

การวางแผนการทำงานในองค์กร
1. การวางแผนแบบใช้กลยุทธ์ (Strategic Planning) การวางแผนแบบใช้กลยุทธ์ จะเกี่ยวข้องกับรายละเอียดการทำงานทั้งหมดขององค์กร ซึ่งจะเริ่มต้น จากแนวความคิดของผู้บริหารระดับสูง หลังจากนั้น แผนกต่างๆ ในทุกระดับขององค์กร จึงเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนการทำงานร่วมกัน
วัตถุประสงค์ของการวางแผนแบบใช้กลยุทธ์ คือ
                   1. กำหนดทิศทางการทำงาน และวางแผนในระยะยาว เพื่อให้ทุกแผนกขององค์กรทำงานได้อย่างสอดคล้องกัน
                   2. เพื่อให้พนักงานในทุกระดับ เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการวางแผน
                   3. เพื่อให้แต่ละแผนก พัฒนาแผนการทำงาน แล้วจึงนำมาใช้แบบผสมผสาน

          2. การวางแผนโดยใช้กลวิธีเฉพาะ (Tactical Planning) การวางแผนโดยใช้กลวิธีเฉพาะ คือ การวางแผนสำหรับกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น โครงการหรือโปรเจคต์ ที่จัดขึ้นมาใหม่ และจะต้องใช้กลวิธี ที่คิดค้นขึ้นมาใหม่ เพื่องานนี้โดยเฉพาะซึ่งกลวิธี เหล่านี้ มักจะเกี่ยวข้องกับแผนกงานในระดับล่าง (ระดับปฏิบัติการ) ซึ่งพวกเขา จะต้องหาวิธีการใหม่ๆ ที่จะต้องนำมาใช้ และแบ่งหน้าที่ในการรับผิดชอบกลวิธีเฉพาะ จึงเปรียบเสมือนส่วนหนึ่งที่สำคัญ ที่จะทำให้การวางแผนแบบใช้กลยุทธ์ในข้อแรกประสบความสำเร็จ ขั้นตอนการวางแผนแบบนี้ จะเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ ณ ปัจจุบัน ในขณะที่โครงการ หรือโปรเจคต์กำลังดำเนินอยู่
          3. การวางแผนเชิงปฏิบัติการ (Operational Planning) การวางแผนเชิงปฏิบัติการ คือสิ่งที่ ผู้บริหาร หรือผู้ที่ทำงานในระดับหัวหน้า ใช้ เพราะเป็นส่วนหนึ่ง ในหน้าที่รับผิดชอบของตัวเอง และจะพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ การวางแผนเชิงปฏิบัติการ แบ่งได้เป็น 2 แบบหลัก ๆ คือ
                   1. แผนแบบใช้ครั้งเดียว เช่น การจัดกิจกรรมพิเศษ หรืองบประมาณสำหรับจัดกิจกรรมพิเศษ
                   2. แผนแบบที่จะต้องใช้ต่อไป เช่น นโยบายขององค์กร และระเบียบการในการทำงาน
ขั้นตอนในการวางแผนเชิงปฏิบัติการ คือ
                   1. กำหนดเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ เป็นการกำหนดเป้าหมายในการทำงาน ทั้งในช่วงเวลาปัจจุบัน ไปจนถึงอนาคต
                   2. วิเคราะห์ และประเมินสภาพแวดล้อม เป็นการวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน และทรัพยากรที่สามารถนำมาใช้งานได้
                   3. กำหนดทางเลือก กำหนดและตั้งเป้า แผนการทำงาน ซึ่งมีความเป็นเป็นไปได้
                   4. ประเมินทางเลือกที่มี แยกรายละเอียดแผนการทำงาน พิจารณาถึงข้อดี และข้อเสีย ที่จะเกิดขึ้น
                   5. คัดเลือกแผนการทำงานที่ดีที่สุด เลือกแผนการทำงาน ที่นำมาใช้ แล้วจะเกิดประโยชน์สูงสุด หรือไม่ก็ต้องให้มีข้อเสีย
น้อยที่สุด
                   6. จัดเตรียมเครื่องมือสำหรับแผนการที่ได้วางไว้ เช่น กำหนดว่า ใครจะต้องมีหน้าที่รับผิดชอบงานอะไรบ้าง ทรัพยากรในการทำงานแบบไหน ที่พวกเขาจะต้องใช้

                   7. ควบคุมแผนงาน และประเมินผลลัพธ์ ตรวจสอบว่า การทำงาน ได้ดำเนินไปตามที่ได้คาดหวังไว้หรือไม่ และใช้การตัดสินใจ เมื่อเกิดปัญหาที่จะต้องแก้ไข






ขอขอบคุณ : https://sites.google.com/site/pmtech32152009
                     https://www.youtube.com/watch?v=P14SP7yOrY8



การพัฒนางาน

การพัฒนางาน

          การพัฒนางานคือ กระบวนการที่มุ่งเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงวิธีการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน เพื่อให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผล


หลักการและวิธีพัฒนางาน
การพัฒนางานคือ การบวนการที่มุ่งเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงวิธีการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน เพื่อให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลการวิเคระห์งานมีวิธีการดังนี้1.การวิเคระห์งานด้วยการใช้แนวทางความเป็นเป็นไปได้ของงาน2.การวิเคระห์งานด้วยการวิเคระห์กิจกรรมของงาน3.การวิเคระห์งานด้วยการวิเคระห์หน่วยของงาน


การพัฒนาวิธีการทำงาน
1ปรับปรุงวิธีการทำงานให้ดีขึ้นปรับปรุงวิธีการใช้เครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์ ตลอดจนสถานที่ ทำงานปรับปรุงกระบวนการผลิต ให้เหมาะสมขึ้นปรับปรุงการออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่มีคุณภาพง่ายต่อการผลิต และต้นทุนต่ำปรับปรุงโดยการเลือกใช้วัสดุที่มีคุณสมบัติตามที่ต้องการ แปรรูปได้ง่ายและราคาไม่แพง


การพัฒนาสถานที่การทำงาน
1. การจัดเก็บและขนย้ายวัสดุสิ่งของอย่างมีประสิทธิภาพ2. การใช้เครื่องจักรอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย3 .การจัดรูปแบบของงาน4. การวิเคระห์ระบบงานและจัดสถานที่5. การพัฒนาสภาพเงื่อนไขและสภาพแวดล้อม


การวิเคราะห์การจัดระบบงานและจัดสถานที่
1.ระบบงานที่ต้องทำบ่อยๆควรจะออกแบบวัสดุและอุปกรณ์ให้อยู่ใกล้กับคนทำงานในระบบที่เหมาะสมที่สุดและใช้งานสะดวกที่สุดเพื่อที่จะทำงานได้เร็วและไม่เมื่อยล้า2.ระบบงานที่ทำตามหน้าที่การใช้งาน ออกแบบให้อยู่ในตำแหน่งที่สามารถตอบสนองการใช้งานได้อย่างรวดเร็ว3.ระบบงานที่ต้องทำตามลำดับขั้นตอน การออกแบบต้องคำนึงถึง การหยิบใช่งานได้อย่างต่อเนื่องตามลำดับขั้นตอนการทำงานก่อนหลัง


หลักการจัดสถานที่ทำงาน
1.การจัดวางวัสดุเครื่องมือ และปุ่มควบคุม ภายในระยะที่หยิบถึงง่าย2.การปรับปรุงท่าปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ3.การใช้แคลมป์หนีบอุปกรณ์จับยึด และอุปกรณ์อื่นเพื่อประหยัดเวลาแรงงาน4.การปรับปรุงหน้าปัดแสดงผลและแผงควบคุมเพื่อลดการผิดพลาดขอบเขตของสภาพเงื่อนไขและสภาพแวดล้อมในการทำงาน


  หากพิจารณาสิ่งแวดล้อมไม่ปลอดภัยบ่งได้ดังนี้

  1. สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ที่เกิดจากการสัมผัสโดยตรงของคนเช่นแสงสว่างความสั่นสะเทือนเสียงและอากาศอุณหภูมิ  2. สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ ที่เกิดจากการได้รับเชื้อที่มาจากสิ่งมีชีวิต เช่น สัตว์ พืช หรืออากรติดเชื้อจากไวรัส แบคทีเรียเชื้อรา รวมทั้งความชื้นหรือความแออัดคับแคบจากสถานที่ทำงาน  3. สิ่งแวดล้อมทางเคมี เกิดจากการทำปฎิริยาทางเคมีของสสารต่างๆ เช่น แก๊ส เขม่า ควันไฟ ฝุ่นโลหะ สารเคมีอื่นๆ  4. สิ่งแวดล้อมการจัดสภาพงาน ที่มีความสัมพันธ์กับการทำงานของคนงาน เช่น สภาพการทำงานที่ซ้ำซากจำเจ ความเบื่อหน่ายต่อการทำงานความกังวลและปัญหาต่างๆในหน่วยงานเป็นต้นองค์ประกอบของสภาพเงื่อนไขและสภาพแวดล้อมการทำงาน1. สุขภาพและความปลอดภัย 2. เวลาการทำงาน ทำงานเป็นเวลานานจะทำให้เกิดการสูญเสียความสนใจ ในงานความเหนื่อยหน่าย ความเมื่อยล้า 3. สภาพภูมิอากาศ 4. กลิ่น ฝุ่น และสารพิษ 5. แสงสว่าง 6. เสียงและความสั่นสะเทือน

 7.อัคคีภัยและอันตรายจากไฟฟ้า



การพัฒนาสภาพเงื่อนไขและสภาพแวดล้อมการทำงาน
1.จัดตั้งองค์การเพื่อสุขภาพและความปลอดภัย2.การจัดเวลาการทำงาน3.ปกป้องโรงงานจากสภาพภูมิอากาศ4.การกำจักหรือแยกแหล่งกำเนิดมลผิษ5.การปรับปรุงพื้นอาคาร6.วางผังโรงงานอย่างยืดหยุ่นและดัดแปลงได้ง่าย7.อัคคีภัยและอันตรายจากไฟฟ้าการพัฒนาเครื่องมือและอุปกรณ์


วัตถุประสงค์ของการออกแบบเพื่อพัฒนาเครื่องมือ
1.เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ราคาต่ำมีคุณภาพและมีขนาด/รูปร่างเท่ากันทุกชิ้น2.เพิ่มผลผลิตการพัฒนาปรับปรุงเครื่องมือ3.พัฒนาวิธีทำงานกับเครื่องมือให้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น4.เลือกใช้วัสดุที่ใช้ทำเครื่องมือเพื่อให้อายุการใช่งานเครื่องมือสูงสุด5.เตรียมอุปกรณ์ให้ปลอดภัยมากที่สุด



 หน้าที่ของอุปกรณ์ในการทำงาน
1.อุปกรณ์นำเจาะ ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือช่วยในการกำหนดตำแหน่งยึดชิ้นงานและเป็นตัวนำทางของเครื่องมือตัด(Cutting tools)ในการเจระรูหรือคว้านรู2.อุปกรณ์จับยึดงาน ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือช่วยในการกำหนดตำแหน่งจับยึดชิ้นงานและร่องรับชิ้นงานให้อยู่กับที่ในขณะเครื่องกำลังทำงาน3.อุปกรณ์ขนถ่าย เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเคลื่อนที่ ขนส่งของจากที่หนึ่งไปที่หนึ่งในเวลาที่ต้องการ และอยู่ในลักษณะของคุณภาพที่ต้องการรวมทั้งการเก็บรักษาและการบรรจุหีบห่อ

     
     การพัฒนางานอาชีพในองค์กร เป็นแนวความคิดที่จะช่วยพัฒนาทุกคนในองค์กรให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และมีโอกาสก้าวหน้าตามศักยภาพและความพร้อมของแต่ละคน ดังนั้นการพัฒนาอาชีพ จึงเป็นเครื่องมือในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งองค์กร โดยผลของการพัฒนา งานอาชีพคือจะมีประโยชน์คือ ทำให้องค์กรไปสู่ความสำเร็จโดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกันทั่งทั้งองค์กร และ ทำให้ทุกคนมีความกระตือรือร้นในการพัฒนาตนเองในการทำงาน เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของตนเองและสังคม เพื่อความสำเร็จในหน้าที่การงานของตนเอง ส่งผลให้ทุกคนในองค์กรมีขวัญและกำลังใจในการทำงาน เป็นการลดอัตราการลาออกได้และเป็นการจัดให้ทุกคนได้ทำงานที่ตรงกับความถนัดความรู้ความสามารถของตน (Put the Right Man to the Right Job) ซึ่งจะเป็นประโยชน์ตรงต่อองค์กร
            การนำการพัฒนาอาชีพมาใช้ในองค์กรจะขึ้นอยู่กับความต้องการหรือเป้าหมายในการพัฒนา
ทรัพยากรมนุษย์ภายในองค์กร ทั้งนี้ขอบเขตของการพัฒนาอาชีพ จะครอบคลุมงานต่างๆดังนี้
            1.   การประเมินความสามารถของบุคลากรรายบุคคล มุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากรโดยหาช่องว่างความสามารถของแต่ละบุคคลตามความเป็นจริง    เมื่อเปรียบเทียบกับคามสามารถที่คาดหวัง เพื่อวางแผนพัฒนาและปรับปรุงความสามารถที่ขาดและต้องการเสริมให้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
            2.  การจัดทำแผนฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรรายบุคคล มุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากรโดยกำหนดแผนการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรรายบุคคล
ซึ่งเป็นแผนประจำปีหรือแผนระยะยาวที่กำหนดขึ้นเพื่อฝึกอบนมและพัฒนาบุคลากรโดยเริ่มตั้งแต่เข้ามาทำงาน และทำงานต่อจนลาออก
           3.   การจัดทำเส้นทางการก้าวหน้าในอาชีพ มุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากรโดยสร้างโอกาสหรือความก้าวหน้าในการทำงานให้กับบุคลากร
จะทำให้บุคลากรว่าตนเองสามารถเลื่อนตำแหน่งงานไปยังตำแหน่งงานใดได้บ้าง หรือโอนย้าย สับเปลี่ยนหมุนเวียนไปหน่วยงานอื่นหรือตำแหน่งงานใด
ได้บ้าง
            4. การจัดทำแผนทดแทนตำแหน่งงาน มุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากรโดยพัฒนาบุคลากรโยพัฒนาศักยภาพและเตรียมความพ้อมให้กับบุคลากร
ที่มีความสามารถและศักยภาพสูง โดยจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคลในรูปแบบการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรด้วยวิธีต่างๆ เช่น การฝึกอบรม
การสอนงาน การทำให้คำปรึกษาแนะนำ เป็นต้น เพื่อให้มีความสามารถที่จะปฏิบัติงานในตำแหน่งที่สูงขึ้นไป

วิธีเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
1. ทำสิ่งที่ไม่อยากทำซะก่อน

         วิธีนี้ก็เหมือนการทานก๋วยเตี๋ยวที่มักจะทานเส้นก่อน แล้วเหลือลูกชิ้นเอาไว้ปิดท้าย เช่นเดียวกับการทำงาน ย่อมมีเรื่องที่ไม่ถนัดเข้ามาอยู่เสมอ ฉะนั้นแล้วทำงานที่ไม่ถนัดให้เสร็จเสียก่อน เพื่อที่จะได้ทำในส่วนที่ถนัดได้อย่างเต็มที่

2. พุ่งเป้าไปที่เรื่องใดเรื่องหนึ่งเท่านั้น
         ในระหว่างการทำงานหากคุณทำกิจกรรมอื่น ๆ อาทิเช่น ทานอาหาร เล่นเฟซบุ๊ก เปิดทวิตเตอร์ ดูโทรทัศน์ หรือทำนั่นนี่โน่น ที่ไม่เกี่ยวกับหน้าที่การงานแล้วล่ะก็ขอให้หยุดไว้ก่อน เพราะนั่นอาจทำให้งานเกิดความล่าช้า แถมยังทำให้ทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรอีกด้วย คุณควรจะมุ่งความสนใจในการทำงานให้สำเร็จลุล่วงไปก่อน จะดีกว่าเยอะเลยล่ะ 3. มีระบบการทำงานที่เป็นขั้นเป็นตอน
         เพื่อให้งานที่คุณทำมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น คุณควรที่จะมีการวางแผนจัดระบบการทำงานให้เป็นขั้นเป็นตอนชัดเจน โดยอาจจะเริ่มจากการแยกแยะสิ่งที่ต้องทำและสิ่งที่ยังไม่ต้องทำให้เห็นเด่นชัด เพื่อจะได้ตัดสินใจลงมือทำอย่างถูกต้อง อีกทั้งจัดหมวดหมู่ของงานที่มีลักษณะเดียวกันให้อยู่ด้วยกัน เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ วิธีเหล่านี้จะช่วยให้คุณทำงานได้รวดเร็ว สะดวก และคล่องตัวมากขึ้น

3. ยอมรับข้อบกพร่องของตัวเอง

         ชีวิตคนเราไม่ได้ดีเลิศไปซะทุกด้าน มีผิด มีพลาด หรือขาดตกบกพร่องไปบ้างถือเป็นเรื่องธรรมดา ฉะนั้นแล้วยอมรับในข้อบกพร่องของตัวเอง เรียนรู้และนำไปแก้ไขต่อไป เชื่อได้ว่าจะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานให้ดีมากขึ้นแน่นอน

4. ใช้วิธีลัดต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์
         โปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ช่วยให้คุณทำงานได้รวดเร็วและสะดวกยิ่งขึ้น แต่จะดีกว่านั้นอีกหากคุณเรียนรู้และรู้จักวิธีลัดต่าง ๆ ทั้งปุ่มคีย์ลัดสำคัญ ๆ เช่น Ctrl+C หรืออื่น ๆ อีกมากมาย เพราะวิธีลัดเหล่านี้ จะช่วยประหยัดเวลาไปได้มากอยู่พอสมควรเลยทีเดียว

5. ลดความเสี่ยงในเรื่องต่าง ๆ

         ในสังคมปัจจุบันมีเรื่องให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายอยู่มากมาย ทั้งค่าน้ำ ค่าไฟ อาหารการกิน ค่ารักษาพยาบาลและอื่น ๆ อีกสารพัด ดังนั้นแล้วคุณจึงควรที่จะระมัดระวังการใช้จ่ายในแต่ละเดือนให้ดี อีกทั้งเรื่องของความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น การทำบัตรเครดิต หรือการลงทุนที่ไม่เกิดประโยชน์ก็ควรจะหลีกเลี่ยงเช่นกัน เพราะนั่นไม่ได้เป็นสิ่งที่รับประกันว่าคุณจะมีชีวิตที่ดีขึ้นแต่อย่างใด





ขอขอบคุณ : https://youtu.be/JC6yc5o3x_s                                                            http://lms.rmutsb.ac.th/elearning/claroline/backends/download.php?url=LzA1XzIucHB0&cidReq=1901201